วิธีการฝึกตีลูกเปตองให้เเม่น
การตีลูก เป็นส่วนสำคัญของการเล่นเปตองอีกประการหนึ่ง เมื่อไม่สามารถเข้าลูกให้ชนะคู่ต่อสู้ได้ ต้องอาศัยการตีลูกเพื่อให้ลูกของคู่ต่อสู้ออกจากจุดที่ตั้งอยู่ ผู้เล่นที่ฝึกหัดใหม่มักเผชิญต่อความยากลำบากในการตีและบังคับลูก สาเหตุอาจมาจากข้อบกพร่องดังนี้
1. ผู้เล่นจับลูกไม่ถูกวิธี และขาดสมาธิ
2. ผู้เล่นอาจตีลูกช้า หรือเร็วเกินไป
3. การประสานงานของแรงตีลูกไม่ถูกจังหวะ
4. การวางตัว และวางเท้าผิดจากความถนัดของตนเอง
5. แขนงอ หรือแกว่งขณะตีลูก
6. ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง
7. ขาดการฝึกซ้อมหรือเว้นระยะการฝึกซ้อมนานเกินไป
8. ลูกเปตอง (ลูกบูล) มีขนาดและน้ำหนักไม่สมดูลกัน
แต่ถ้าผู้ฝึกพบว่าสาเหตุต่าง ๆ ของการตีเกิดขี้นเพราะสาเหตุใด หรือหลายสาเหตุ ให้แก้ไขดัดแปลงวิธีการฝึกทีละขั้นแต่ต้องจับ และวางลำตัว เท้าให้ถูกต้อง โดยอาศัยแรงจาก 3 แหล่งใหญ่ คือ
1. แรงตีที่เกิดจากการเหวี่ยงของแขน
2. แรงตีที่เกิดจากการดีดตวัดข้อมือและนิ้วมือ
3. แรงตีที่เกิดจากำลังขาทั้งสองข้าง โดยการย่อเข่าช่วยเล็กน้อย
วิธีการฝึกตีลูก
วิธีที่ 1 การตีลูกเลียด (ตีไลน์) เป็นการตีลูกลักษณะเกี่ยวกับการเข้าลูกระยะใกล้ แต่ใช้ความแรงมากกว่า และเหมาะสำหรับพื้นสนามเรียบเท่านั้นทิศทางของลูกที่ตีไปหาความแน่นอนไม่ได้ หากมีลูกของฝ่ายตรงข้ามหรือของตนขวางหน้า ก็ไม่สามารถตีลูกลักษณะนี้ได้
วิธีการฝึก
- หาจุดตกของลูก ซึ่งควรเป็นที่เรียบที่สุด
- จุดตกที่ดีไม่ควรห่างจากลูกที่จะตีเกิน 2 เมตร (ยิ่งจุดตกห่างลูกที่ตีมากมีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้มาก)
- ก่อนที่จะตีลูกต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตนเอง
- ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตี เช่น แขน มือ นิ้วมือ ข้อมือ และขาทั้งสองข้าง
- ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจริง
วิธีที่ 2 การตีลูกถึงตัว (ตีเจาะ) การตีลูกนี้เหมาะกับสภาพสนามทุกรูปแบบ และเป็นลูกที่นักกีฬาเปตองทั่วไปใช้กันมากที่สุด เนื่องจากการฝึกตีลูกนี้หากตีได้อย่างแม่นยำ ลูกที่ต่ำไปถูกลูกคู่ต่อสู้ เป็นจังหวะเดียวกับลูกตกถูกพื้นพอดี ลูกที่ตีมีโอกาสอยู่แทนที่ได้ด้วย การฝึกตีลูกนี้นักกีฬาไม่ต้องพะวงว่าจะมีลูกขวางหน้า
ท่าทางในการตีลูก
- ยืนในท่าที่ถนัดที่สุด แต่เท้าทั้งสองข้างต้องไม่เหยียบเส้น และอยูในวงกลม
- ตั้งลูกตามต้องการเพื่อฝึกตี
- เริ่มฝึกตีจากระยะใกล้ ๆ ก่อน จาก 3 เมตร 4 เมตร 5 เมตร ต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงระยะ 12 เมตร แล้วจดสถิติไว้ทุกวัน ๆ เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง
- ฝึกการประสานงานของแรงที่ใช้ในการตีลูกให้สัมพันธ์กันระหว่างการดีดตวัดข้อ มือ นิ้วมือ และขาทั้งสองข้าง ระบบการหายใจก็มีส่วนสำคัญ เกี่ยวกับกับการตีลูกมาก ควรจะได้มีการฝึกให้ประสานงานให้ดี
- ก่อนตีลูกจะต้องมีสมาธิ และความเชื่อมั่นในตัวเอง
- ฝึกอย่างสม่ำเสมอและจริงจัง
ที่มาhttp://www.pongpansport.com
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น