เทคนิคการวางลูกเหล็กให้ใกล้เป้าหมาย




วิธีการวางลูกเปตองให้ใกล้เป้าหมาย
การเข้าลูกบูล ถือเป็นหัวใจสำคัญของการเล่นเปตอง ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยากพอสมควร มีหลักการเข้าลูกดังนี้
1. ใช้ความสังเกต และจดจำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับตนเอง และคู่ต่อสู่
2. ศึกาพื้นสภาพที่ใช้ฝึก หรือแข่งขัน ว่ามีสภาพเป็นเช่นไร แข็ง เรียบ ขรุขระ ฯลฯ
3. หาจุดตก เพื่อจะได้คำนวณน้ำหนักมือที่จะส่งลูก ให้พอเหมาะกับระยะ
4. ไม่ควรโยนลูกออกจากมือ ถ้าสมาธิยังไม่ดีพอ
นอกเหนือจาก 4 ประการนี้แล้ว สิ่งที่อาจทำให้การเข้าลูกไม่ดีเท่าที่ควรก็คือ ลูกบูลน้ำหนักและมือไม่สมดุลกัน การเข้าลูกมี  2 ลักษณะ คือ นั่งกับยืน ไม่ว่าจะเป็นการนั่งหรือยืน เท้าทั้งสองข้างจะต้องอยู่ในวงกลม ไม่เหยียบกัน และไม่ยกเท้าในขณะโยนลูก
ลักษณะการนั่งเข้าลูก นั่งบนส้นเท้า มีเท้านำ และเท้าตาม เขย่งส้นเท้าขึ้น และเท้าทั้งสองต้องอยู่ในวงกลมไม่เหยียบเส้น
   
ยืนเข้าแบบเท้าคู่
ลักษณะการยืนเข้า หรือการตีลูก ยืนเท้าคู่ หรือแบบมีเท้านำก็ได้แล้วแต่ความถนัด ของแต่ละบุคคล แต่ถ้าถนัดโยนลูก , ตีลูก ด้วยมือขวา ควรยืนเท้าขวานำเล็กน้อย เพื่อให้การทรงตัวมีฐานที่มั่นคง

วิธีการเข้าลูก
วิธีการเข้าลูกมีอยู่ 3 แบบ คือ
1. การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) การโยนลูกระยะใกล้ (ลูกไลน์) เป็นการโยนลูกให้ตกตั้งแต่จุดโยนหรือไม่เกิน 3 เมตร จากจุดโยน ใช้แรงเหวี่ยงจากแขน ข้อมือ และปลายนิ้วส่งลูก ระยะทางที่ลูกบูลวิ่งเข้าหาเป้าจะมีระยะทางไกลทิศทางของลูกบูลอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่ายตามลักษณะของพื้นสนามการโยนลูกนี้เหมาะสำหรับสนามเรียบเท่านั้น
2. การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) การโยนลูกระยะกลาง (ฮาฟดร๊อป) เป็นการโยนลูกให้ตกเกือบกึ่งกลางระหว่างจุดเริ่มกับลูกเห้าต้องโยนลูกให้สูงกว่าการโยนลูกระยะใกล้ และทุกลูกที่โยนออกไปต้องเป็นลูกที่หมุนกลับหลัง (ลูกสกรู) ข้อสำคัญของการโยนลูกคือ จุดตก การโยนลูกนี้เหมาะสำหรับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เป็นหลุม พื้นสนามแข็ง ขระขระ หรือ จุดตกของการปล่อยลูกระยะใกล้เป็นหลุมไม่สามารถหาจุดตกได้
3. การโยนลูกโด่ง (ดร๊อฟ) การโยนลูกโด่งต้องโยนให้สูงกว่าลูกระยะกลาง และต้องให้ลูกหมุนกลับหลัง (สกรู) มากกว่า โดยใช้ปลายนิ้วสกรูลูก ไม่ใช่เป็นการกระดกข้อมูล การโยนลูกนี้จุดตกมีความสำคัญมาก ลูกนี้เหมาะสมกับพื้นสนามที่ไม่เรียบ เปียกแฉะ เป็นหลุมเป็นบ่อ ต้องโยนให้เกือบถึงลูกเป้า ห่างจากลูกเป้า ประมาณ 50-100 ซม. ทั้งนี้ต้องแล้วแต่พื้นสนาม ในการแข่งขันระดับโลกส่วนใหญ่จะใช้โยนลูกลักษณะนี้ เพราะสนามแข่งขันเป็นหินเกร็ด

วิธีการฝึกเข้าลูก
วิธีที่ 1 ให้เขียนวงกลมเป็นเป้าหมายซ้อนกันหลาย ๆ วง วงในสุดมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. วงนอกต่อ ๆ มาห่างกันวงละ 10-15 ซม. กำหนดคะแนนวงในให้ 5 คะแนน วงต่อ ๆ มาเป็น 4,3,2,1 ตามลำดับ แล้วฝึกเข้าลูกจากระยะ 6 เมตร 6,5,7,7.5 ไปเรื่อย ๆ จนถึง 11 เมตร ฝึกโยนทุกระยะ ระยะละ 40-50 ลูก แล้วจดบันทึกคะแนนแต่ละระยะไว้เพื่อเปรียบเทียบถึงความบกพร่อง ระยะใดที่มีความบกพร่องมากก็ให้ฝึกระยะนั้นมากขึ้น
วิธีที่ 2 ให้เขียนสี่เหลี่ยมมีลูกเป้าอยู่ในสี่เหลี่ยมในสุด ซึ่งมีรัศมี 20 ซม. จากนั้นให้ทำสี่เหลี่ยมซ้อนไปเรื่อย ๆ เส้นห่าง 5-10 ซม. กำหนดคะแนน 5,4,3,2,1 ตามลำดับ ในแต่ละเส้นล่างของสี่เหลี่ยมจะมีลูกบูลอยู่โดยวางแบบสลับฟันปลา กำหนดจุดในการฝึกเหมือนวิธีที่ 1 ระยะใดบกพร่องก็ให้ฝึกระยะนั้นมาก  
วิธีที่ 3 การฝึกเข้าเหมือนแบบที่ 1 แต่เพิ่มลูกบูลดักไว้ ถ้าเข้าถูกลูกบูลที่วางไว้ถือว่าฟาวล์ตองติดลบคะแนน ฝึกให้ชำนาญ

ที่มาhttp://km.saard.ac.th/external_newsblog.php?links=1

ความคิดเห็น